ดาวเคราะห์น้อย
หลังจากมีการค้นพบดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ของระบบสุริยะ ก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเล็กชื่อ "ซีรีส" (Ceres) ในปี พ.ศ.2344 และต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์อีก 4 ดวง คือ พัลลาส จูโน เวสตา แอสเตรีย จนกระทั่งได้มีการค้นพบดาวเนปจูนในปี พ.ศ.2389 จึงปรับลดสถานะของดาวเคราะห์ขนาดเล็กทั้ง 5 ดวง เรียกว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (Minor planets) และในต่อมา เมื่อมีการพัฒนากล้องโทรทัศน์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวนมาก บริเวณระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี และเมื่อนักวิทยาศาสตร์ทราบว่า ดาวเคราะห์น้อยเป็นเพียงวัสดุที่พยายามจะรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ แต่ไม่สำเร็จจึงเรียกพวกมันว่า "Asteroids" และเรียกบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อยโคจรว่า "แถบดาวเคราะห์น้อย" (Asteroid belt)
ภาพ แสดงตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อย |
จนตราบเท่าทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่าในสุริยะจักวาลมีดาเคราะห์น้อยจำนวนนับสองหมื่นดวง ที่กำลังโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี และถึงแม้จำนวนดาวเคราะห์น้อยจะมีมาก แต่ในห้วงอวกาศที่กว้างใหญ่ไพศาลการที่ดาวแต่ละดวงอยู่ห่างกันหลายล้านกิโลเมตร ทำให้โอกาสที่ดาวเหล่านี้จะชนกันเองแทบจะไม่มี
ดาวเคราะห์น้อยมาจากไหน ?
ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่าดาวเคราะห์น้อย เป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ที่ถูกอุกาบาตชนจนแตกสลาย แต่ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ส่วนมากคิดว่าดาวเหล่านี้ เป็นเพียงก้อนดินที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเกาะรวมกันเป็นดาวเคราะห์เท่านั้นเอง นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังพบอีกว่าดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีเส้นโคจรตัดกับเส้นการโคจรของโลกอีกด้วย และนั่นก็หมายความว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยจะชนโลกมีอยู่ เพราะจากเหตุที่ว่าดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเล็ก และอยู่ไกลจากโลกมาก การที่จะศึกษาดาวเหล่านี้จึงทำได้ยาก ขณะนี้นักดาราศาสตร์มีข้อมูลทีเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยแล้วประมาณ 5,000 ดวง โดยใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดูจากโลก แต่การศึกษาดาวเคราะห์น้อยในระยะไกล้นั้นยังไม่ได้กระทำ โดยนาซ่าเองได้เคยคิดที่จะให้ยานอวกาศชื่อ Galileo โคจรผ่านดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ชื่อ Amphitrite แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่กระสวยอวกาศ Challenger เกิดการระเบิด นาซ่าจึงเปลี่ยนแผนโดยส่งญาณ Galileo โคจรผ่านดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่ื่ชื่อ Grspra แทน
จนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2536 ความไฝ่ฝันของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็บรรลุความเป็นจริง เมื่อยาน Galileo ของสหรัฐฯ ซึ่งกำังมุ่งหน้าสู่ดาวพฤหับดี ได้โคจรผ่าน Gaspra ในระยะ 1,597 กิโลเมตร กล้องถ่ายภาพบนยานได้บันทึกภาพของดาวดวงนี้ไว้ได้เป็นผลสำเร็จ ความสำเร็จครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสำรวจอวกาศของมนุษยู ที่ได้เห็นดาวเคราะห์น้อยในระยะใกล้
โดยภาพที่บันทึกได้ แสดงให้เราเห็นว่า Gaspra มีขนาด 10 x 18 กม. มีรูปร่างเหมือนหัวปาฉลาม และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 7 วัน ที่ผิวดาวจะมีหลุมอุกาบาตเล็กๆ และส่วนประกอบของดาวส่วนใหญ่เป็นหินชนิด Oliveine และ Pyroxene
ภาพ ดาวเคราะห์น้อย Gaspra |
การจำแนกดาวเคราะห์น้อยสามารถจำแนกได้ 3 แบบ ตามองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้
1. C-type หรือ Common เป็นดาวเคราะห์น้อยที่พบเห็นประมาณร้อยละ 75 มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอน มีสีเข้มเพราะพื้นผิสะท้อนแสงได้ไม่ดี
2. S-type หรือ Stone เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 17 มีองค์ประกอบหลักเป็นหินซิลิเกตมีเหล็กและนิเกิลปนอยู่เล็กน้อย
3. M-type หรือ Metal เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สว่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบเป็นโลหะเหล็กนิเกิลสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี
แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt)
เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีประกอบไปด้วยก้อนหินจำนวนมากลอยเกาะกลุ่มกันเป็นแถบ เรียกหินเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์น้อยหรือ ดาวเคราะห์แคระ บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกมันออกจากแถบดาวเคราะห์แคระอื่นๆ ที่มีอยูในระบบสุริยะ เช่นแถบไคเปอร์ และแถบหินกระจาย
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวัตถุขนาดใหญ่ 4 ชิ้น ได้แก่ ซีรีส,4 เวสต้า , 2 พัลลัส,10 ไฮเจีย ทั้ง 4 ชิ้นนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาด